ข้อสอบปลายภาค
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้
(40 คะแนน)
1.ความหมายคำว่า
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือกฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย
ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.
2535 เป็นต้น
พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
การตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ
พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ) คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
พระราชกฤษฎีกาจะออกได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้
พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท
และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย
การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เทศบัญญัติ คือกฎหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นนั้น
ๆ และจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น ๆ ที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้ให้อำนาจเทศบาลตราเทศบัญญัติขึ้นใช้บังคับได้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นตนและสามารถวางโทษปรับแก่ผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้
เช่น เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการรักษาความสะอาด เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการการควบคุมการก่อสร้างอาคาร
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร
หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดรูปแบบให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช้เป็นสหพันธรัฐ
สาธารณรัฐ
หรือสมาพันธรัฐให้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วนคืออำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย
โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ
ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี
และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคกัน
หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญดิฉันคิดว่าไม่ได้ให้หลักประกันว่า
จะต้องกลับไปสู่สมบูรณาญาสิทธิราชย์เสมอไป รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั่วโลกต่างก็ใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญปกครองประเทศกันทั้งนั้นแม้แต่ประเทศที่ปกครองโดยเผด็จการทหาร
หรือคอมมิวนิสก็ใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญเพราะเป็นกรอบที่กั้นไม่ให้กฎหมายอื่นๆออกนอกกรอบครับ
ถ้าไม่มีก็วุ่นวายค่ะ
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา
112
มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ ดิฉันคิดว่าควรที่จะต้องแก้ไขเรื่อง 1. ความขัดแย้งเพราะรัฐธรรมนูญจะเป็นกลไกในการลดทอนความขัดแย้งในสังคมไทยได้ในระดับหนึ่ง
กล่าวอีกนัยหนึ่งแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ใช่ "ยาวิเศษ"
ที่เมื่อร่างหรือแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้แล้วจะขจัดปัดเป่าความขัดแย้งใน
สังคมไทยที่มีอยู่มานานให้หมดไปได้ในทันที
หากแต่จะต้องไปพิจารณาและแก้ไขปัญหาทางด้านต่างๆ ประกอบด้วย เช่น การตรา
หรือแก้ไขกฎหมายลูกฉบับอื่นๆ การปรับปรุงโครงสร้างทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น
ปรากฏการณ์ที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งขึ้น ณ ขณะนี้ (และอาจกล่าวได้ว่า ที่ผ่านๆ
มาด้วย) อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
(และบางฉบับในอดีต) ที่ได้ผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญบนหลักการที่ผิดพลาด 2.
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากษ์ขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร
และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากษ์ขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนดิฉันเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้คือ
กรณีกัมพูชาสมัยที่เจ้าสีหนุเป็นผู้นำ ถ้ากลับไปพลิกประวัติศาสตร์ช่วงนั้นดู
ก็จะพบด้วยความประหลาดใจว่า ไทยเองเป็นฝ่ายไม่ยอมเจรจา ทั้งภายใต้รัฐบาล จอมพล
ป.พิบูลสงคราม และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ทำให้กัมพูชาไม่เหลือทางเลือกอื่นนอกจากขึ้นศาลโลก
มีคำอธิบายในสมัยหลังว่าเพราะรัฐบาลทั้งสองได้รับคำแนะนำผิดๆ ว่า การครอบครองปราสาทพระวิหารของไทยนั้นถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศแน่
วิธีแก้ไขคือ เจรจาตกลงกันโดยสันติ ในกรณีที่ตกลงกันได้
ก็วางหมุดลากเส้นกันให้ชัด เขาอาจยื่นเข้ามาในประเทศเราบ้าง
เราอาจยื่นเข้าไปในประเทศของเขาบ้าง ฝ่ายละไม่กี่ ตร.กม. กรณีที่ตกลงกันไม่ได้
ก็วางไว้ก่อนถือเป็นดินแดนที่ยังไม่มีเจ้าของแน่ชัด ในปัจจุบัน เรากับมาเลเซียก็มี
No Man′s Land แบบนี้อยู่บางส่วน
หรือมิฉะนั้นก็อาจเลิกเถียงกันเรื่องอธิปไตย
แต่มาแบ่งผลประโยชน์กันบนดินแดนที่เป็นปัญหาดีกว่า อย่างที่เราทำกับมาเลเซียในทะเล
และหวังว่าจะทำกับกัมพูชาบ้าง
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา
ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ ดิฉันเห็นด้วยกับพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา
เพราะในรัฐธรรมนูญก็ได้มีสาระสำคัญของการศึกษาที่เขียนไว้
และพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษาที่เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา
ขึ้นมา
เพื่อนำมาประกาศใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตามจุดมุ่งหมายการพัฒนาศักยภาพของคนไทย
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน
การประกันคุณภาพภายนอก ผู้สอน ครู
คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
ตอบ การศึกษา หมายความว่า
กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้
การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม
สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่าการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาในระบบ หมายความว่าการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน หมายความว่าเป็นการศึกษาที่มุ่งจัดให้กลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาชีวิตและสังคม
โดยมีหลักการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ด้อยโอกาสพลาดหรือขาดโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียน
ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ ฝึกทักษะ ปลูกฝังเจตคติที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
และการประกอบสัมมาชีพ
อีกทั้งสามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของวิทยาการต่าง ๆ
ที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วได้อย่างมีความสุขตามควร แก่อัตภาพ
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายความว่าการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์
จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ
ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร
มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้
ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ
อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
สถานศึกษา หมายความว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
โรงเรียน ศูนย์การเรียนวิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย
หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน
ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายความว่าข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ
คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ
การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน
โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง
หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก
หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก
โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอน หมายความว่าหมายความว่า
ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ครู หมายความว่า
บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง
ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายความว่า
บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง
ทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่าผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ
หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ
และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา
อย่างไร
ตอบ
ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
หลักในการจัดการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
โดยการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู
หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร
หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่าไม่ผิด
เพราะถึงแม้ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีหากผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาถือว่าไม่ผิด
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ
หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติโดยคำนึงถึงมาตรฐานวิชาชีพ
คุณวุฒิการศึกษา การอบรม ประสบการณ์ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน คุณภาพการปฏิบัติงาน
หรือผลงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้
นักศึกษาได้อะไรบ้างครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น
และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ
จากที่เรียนวิชานี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฏหมายต่างๆในแต่ละมาตราที่อาจารย์สอนและย้ำอยู่เป็นประจำ
ซึ่งในส่วนของครูผู้สอนที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog ในการสอนและเผยแพร่ความรู้ให้กับนักศึกษานั้นมีความเหมาะสมเป็นอย่างมากเพราะทั้งตัวผู้เรียนและผู้สอนสะดวก
ประหยัดเวลา
ผู้สอนไม่ต้องคอยแต่สอนบนกระดานหรือตามหนังสือเป็นหลักเพียงแต่อธิบายในเรื่องที่จะสอนให้ผู้เรียนได้เข้าใจและผู้เรียนก้อไม่ต้องมานั่งเขียน
โน้ตในกระดาษ ที่สำคัญยังสามารถนำความรู้ที่เรียนมาใส่ในบล๊อกเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เราไม่รู้
เราอาจรู้ด้วยข้อมูลของคนอื่น ถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรด A และดิฉันคิดว่าตนเองน่าจะได้เกรด A เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น