ข้อสอบกลางภาค
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมายคือคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดหรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืนมีสภาพบังคับลักษณะของกฎหมาย
การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ซึ่งมนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะ
ที่เป็นมนุษย์โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ อาทิเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด
เป็นต้น และขณะเดียวกันก็ถือได้ว่าหลักความเสมอภาคนี้เป็นหลักที่ควบคุมมิให้รัฐใช้
อำนาจของตนตามอำเภอใจโดยการใช้อำนาจของรัฐแก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งรัฐต้อง
สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดรัฐจึงกระทำการอันก่อให้เกิดผลกระทบหรือเป็น
การให้ประโยชน์แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นโดยเฉพาะ หากการให้เหตุผลไม่อาจรับฟังได้แสดงว่าการใช้อำนาจของรัฐนั้นเป็นไปตาม
อำเภอใจ
ดังนั้นหลักความเสมอภาคจึงเป็นหลักสำคัญในการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนและสามารถนำมาตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่าย นิติบัญญัติ
ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการได้
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ ดิฉันเห็นด้วยกับการที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน
ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะตามกำหนดพระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2546 ฯลฯ ตามมาตรา 43 ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้
การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษา
เป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้าน
การเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3. นักเรียน นักศึกษา
หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุม
ของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์
สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ แนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นคือ
1. ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยอาจจัดเก็บภาษาเพื่อการศึกษาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
2. ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน
องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอกชนองค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันทางสังคมอื่น
ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาบริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ รูปแบบการจัดการศึกษามี
3
รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยการศึกษาในระบบมี
2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทยในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมีขอบเขตขยายถึงการศึกษาระดับ
ม.ปลายซึ่งใช้เวลาเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา 12 ปี หรือ ป.1 ถึง ม.6
ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา
69 ของรัฐธรรมนูญ การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
หรือ ป.1-ม.3
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว
อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการ โดยให้จัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
ดังนี้
1. สำนักงานปลัดกระทรวง
2. ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
การแบ่งส่วนในฉบับนี้
โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546 ให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า “คุรุสภา” มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำ
หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่ผิด
เพราะถึงแม้ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีหากผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทาการศึกษาถือว่าไม่ผิด
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
ตอบ ความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรการศึกษา
คือให้ทำเป็นคำสั่งวิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ
ให้เป็นไปตามระเบียบของก.ค.ศ.
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดและมิให้เป็นไปโดยพยาบาท
โดยอคติหรือโดยโทสจริต
โทษทางวินัยมี 5 สถานคือ
1. ภาคทัณฑ์
2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
4.ปลดออก
5. ไล่ออก
ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่า เป็นผู้ลาออกจากราชการ
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ เด็ก
หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
เด็กเร่ร่อน
หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดู
เด็กกำพร้า หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก หมายความว่า
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร
เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
ทารุณกรรม หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด
ๆจนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก
การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น