วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ข้อสอบปลายภาค
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)
1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ
ตอบ  กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือกฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ     ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
          พระราชบัญญัติ (...) คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.. 2535 เป็นต้น
          พระราชกำหนด (...) คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี การตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ
          พระราชกฤษฎีกา (..) คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาจะออกได้ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
          เทศบัญญัติ คือกฎหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นนั้น ๆ และจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น ๆ ที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า  ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ได้ให้อำนาจเทศบาลตราเทศบัญญัติขึ้นใช้บังคับได้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นตนและสามารถวางโทษปรับแก่ผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้ เช่น เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการรักษาความสะอาด เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการการควบคุมการก่อสร้างอาคาร

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดรูปแบบให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช้เป็นสหพันธรัฐ สาธารณรัฐ หรือสมาพันธรัฐให้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วนคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคกัน หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญดิฉันคิดว่าไม่ได้ให้หลักประกันว่า จะต้องกลับไปสู่สมบูรณาญาสิทธิราชย์เสมอไป รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ       ทั่วโลกต่างก็ใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญปกครองประเทศกันทั้งนั้นแม้แต่ประเทศที่ปกครองโดยเผด็จการทหาร หรือคอมมิวนิสก็ใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญเพราะเป็นกรอบที่กั้นไม่ให้กฎหมายอื่นๆออกนอกกรอบครับ ถ้าไม่มีก็วุ่นวายค่ะ
 
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ ดิฉันคิดว่าควรที่จะต้องแก้ไขเรื่อง 1. ความขัดแย้งเพราะรัฐธรรมนูญจะเป็นกลไกในการลดทอนความขัดแย้งในสังคมไทยได้ในระดับหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ใช่ "ยาวิเศษ" ที่เมื่อร่างหรือแก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้แล้วจะขจัดปัดเป่าความขัดแย้งใน สังคมไทยที่มีอยู่มานานให้หมดไปได้ในทันที หากแต่จะต้องไปพิจารณาและแก้ไขปัญหาทางด้านต่างๆ ประกอบด้วย เช่น การตรา หรือแก้ไขกฎหมายลูกฉบับอื่นๆ การปรับปรุงโครงสร้างทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่สังคมไทยเกิดความขัดแย้งขึ้น ณ ขณะนี้ (และอาจกล่าวได้ว่า ที่ผ่านๆ มาด้วย) อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน (และบางฉบับในอดีต) ที่ได้ผ่านการออกแบบรัฐธรรมนูญบนหลักการที่ผิดพลาด 2.

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากษ์ขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากษ์ขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนดิฉันเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้คือ กรณีกัมพูชาสมัยที่เจ้าสีหนุเป็นผู้นำ ถ้ากลับไปพลิกประวัติศาสตร์ช่วงนั้นดู ก็จะพบด้วยความประหลาดใจว่า ไทยเองเป็นฝ่ายไม่ยอมเจรจา ทั้งภายใต้รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้กัมพูชาไม่เหลือทางเลือกอื่นนอกจากขึ้นศาลโลก มีคำอธิบายในสมัยหลังว่าเพราะรัฐบาลทั้งสองได้รับคำแนะนำผิดๆ ว่า การครอบครองปราสาทพระวิหารของไทยนั้นถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศแน่
วิธีแก้ไขคือ  เจรจาตกลงกันโดยสันติ ในกรณีที่ตกลงกันได้ ก็วางหมุดลากเส้นกันให้ชัด เขาอาจยื่นเข้ามาในประเทศเราบ้าง เราอาจยื่นเข้าไปในประเทศของเขาบ้าง ฝ่ายละไม่กี่ ตร.กม. กรณีที่ตกลงกันไม่ได้ ก็วางไว้ก่อนถือเป็นดินแดนที่ยังไม่มีเจ้าของแน่ชัด ในปัจจุบัน เรากับมาเลเซียก็มี No Mans Land แบบนี้อยู่บางส่วน หรือมิฉะนั้นก็อาจเลิกเถียงกันเรื่องอธิปไตย แต่มาแบ่งผลประโยชน์กันบนดินแดนที่เป็นปัญหาดีกว่า อย่างที่เราทำกับมาเลเซียในทะเล และหวังว่าจะทำกับกัมพูชาบ้าง

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ ดิฉันเห็นด้วยกับพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา เพราะในรัฐธรรมนูญก็ได้มีสาระสำคัญของการศึกษาที่เขียนไว้ และพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษาที่เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตามจุดมุ่งหมายการพัฒนาศักยภาพของคนไทย

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
ตอบ การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
         การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
         การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่าการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
         การศึกษาในระบบ หมายความว่าการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
        การศึกษานอกระบบโรงเรียน หมายความว่าเป็นการศึกษาที่มุ่งจัดให้กลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาชีวิตและสังคม โดยมีหลักการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ด้อยโอกาสพลาดหรือขาดโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียน ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ ฝึกทักษะ ปลูกฝังเจตคติที่จำเป็นในการดำรงชีวิต และการประกอบสัมมาชีพ อีกทั้งสามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของวิทยาการต่าง ๆ ที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วได้อย่างมีความสุขตามควร แก่อัตภาพ
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายความว่าการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต

สถานศึกษา หมายความว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียนวิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายความว่าข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอน หมายความว่าหมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่าบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่าผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
หลักในการจัดการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่าไม่ผิด เพราะถึงแม้ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีหากผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาถือว่าไม่ผิด

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติโดยคำนึงถึงมาตรฐานวิชาชีพ คุณวุฒิการศึกษา การอบรม ประสบการณ์ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน คุณภาพการปฏิบัติงาน หรือผลงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้างครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ จากที่เรียนวิชานี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฏหมายต่างๆในแต่ละมาตราที่อาจารย์สอนและย้ำอยู่เป็นประจำ  ซึ่งในส่วนของครูผู้สอนที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog ในการสอนและเผยแพร่ความรู้ให้กับนักศึกษานั้นมีความเหมาะสมเป็นอย่างมากเพราะทั้งตัวผู้เรียนและผู้สอนสะดวก ประหยัดเวลา ผู้สอนไม่ต้องคอยแต่สอนบนกระดานหรือตามหนังสือเป็นหลักเพียงแต่อธิบายในเรื่องที่จะสอนให้ผู้เรียนได้เข้าใจและผู้เรียนก้อไม่ต้องมานั่งเขียน โน้ตในกระดาษ ที่สำคัญยังสามารถนำความรู้ที่เรียนมาใส่ในบล๊อกเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เราไม่รู้ เราอาจรู้ด้วยข้อมูลของคนอื่น ถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรด A และดิฉันคิดว่าตนเองน่าจะได้เกรด A เช่นกัน

ตอบคำถามจากกิจกรรมที่ 9
ให้นักศึกษาอ่านระเบียบต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อนักศึกษาอ่านระเบียบแล้วให้สรุปประเด็นที่สำคัญ เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไร  ประกาศใช้เมื่อใด ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบนั้น  เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือประเด็นใด โดยสรุปตามหัวข้อระเบียบที่กำหนดไว้  ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ (31 ตัวระเบียบ ลงในบล็อกของนักศึกษา)
 1.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา พ.ศ.2 547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการขอบคุณและอนุโมทนา
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
       เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ เมื่อผู้บริจาคเงิน ทรัพย์สินหรือแรงงาน ไม่ว่ารายเดียวหรือหลายรายให้แก่ส่วนราชการหรือสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไป ตอบขอบคุณหรืออนุโมทนาและออกประกาศเกียรติคุณบัตร

2.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่องการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ การประชาสัมพันธ์ หมายความว่า การติดต่อการสื่อสาร การติดตาม การสอบถามและวิธีการอื่นใดในลักษณะเดียวกันเกี่ยวกับข่าวสารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ
                การให้ข่าวราชการ  หมายความว่า การเผยแพร่ข่าวราชการและให้ความหมายความรวมถึงการให้สัมภาษณ์ที่จัดทำโดย
                การประชาสัมพันธ์หรือการให้ข่าวราชการเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานประจำของกระทรวงศึกษาธิการ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ประชาสัมพันธ์หรือให้ข่าวราชการ

 3.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่องการจัดตั้ง รวมหรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2550
         ผู้ลงนามในระเบียบ วิจิตร ศรีอ้วน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ การจัดตั้งสถานศึกษา ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจัดตั้งสถานศึกษาใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำแผนการจัดตั้งสถานศึกษา และนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยสถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นในชุมชนใดต้องมีจำนวนนักเรียน ดังต่อไปนี้
                ระดับประถมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมาเข้าเรียน ถ้ามีนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่ถึงยี่สิบห้าคน แต่มากกว่าสิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
                ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะมาเข้าเรียนชั้นละไม่น้อยกว่าแปดสิบคน
                ถ้ามีนักเรียนไม่ถึงชั้นละแปดสิบคน แต่มากกว่าสี่สิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น สถานที่ที่จะจัดตั้งสถานศึกษาต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานอนุญาตให้ใช้ ตามประเภทของที่ดินอย่างถูกต้อง จำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าไร่
                การรวมสถานศึกษา ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณารวมสถานศึกษาตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปเพื่อให้สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลดีแก่ผู้เรียน ทั้งในด้านสิทธิโอกาส และคุณภาพการศึกษา โดยจัดเป็นชั้นหรือช่วงชั้น
                การเลิกสถานศึกษา ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเลิกสถานศึกษา เมื่อสถานศึกษานั้นมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                       (1) ไม่มีนักเรียนที่จะจัดการเรียนการสอน
                       (2) จำนวนนักเรียนลดลง จนไม่สามารถพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาได้

4.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติของผู้กำกับการสอบ
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน  พ.ศ. 2548
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายจตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ผู้กำกับการสอบ ต้องปฏิบัติดังนี้
              1. ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการสอบไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลา เริ่มสอบตามสมควร หากไม่สามารถปฏิบัติได้ด้วยเหตุผลใดๆให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยด่วน
              2.กำกับการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อธิบายคำถามใดๆในข้อสอบแก่ผู้เข้าสอบ
              3. ไม่กระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนแก่ผู้เข้าสอบ รวมทั้งไม่กระทำการใดๆอันเป็นการทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับการสอบไม่สมบูรณ์ 
              4. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยตามแบบที่ส่วนราชการหรือสถานศึกษากำหนด หากผู้กำกับการสอบไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาความผิดและลงโทษตามควรแก่กรณี

5.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่องการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม  พ.ศ. 2548
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ การลงโทษ หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อการอบรมสั่งสอน
                โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี ๔ สถาน ดังนี้
                        (๑) ว่ากล่าวตักเตือน
                        (๒) ทำทัณฑ์บน
                        (๓) ตัดคะแนนความประพฤติ
                        (๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
                 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วยมีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
                 การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
                 การทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
                 การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนด และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
                 ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

6.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ให้สถานศึกษาเริ่มงานตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. หยุดกลางวันเวลา 12.00 ถึง 13.00 น. เป็นเวลาทำงานตามปกติ โดยมีวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ คือ วันเสาร์และวันอาทิตย์ หยุดราชการเต็มวันทั้งสองวัน
               วันปิดภาคเรียนให้ถือว่าเป็นวันพักผ่อนของนักเรียน ซึ่งสถานศึกษาอาจอนุญาตให้ข้าราชการหยุดพักผ่อนด้วยก็ได้ แต่ถ้ามีราชการจำเป็นให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการเหมือนการมาปฏิบัติราชการตามปกติ
               วันที่สถานศึกษาทำการสอบชดเชยหรือทดแทน เนื่องจากสถานศึกษาสั่งปิดด้วยเหตุพิเศษหรือกรณีพิเศษต่างๆ ให้ถือว่าเป็นวันทำงานปกติตามระเบียบนี้

7.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา  พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่องการตั้งชื่อสถานศึกษา
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่ากากระทรวงศึกษาธิการ
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
                การตั้งชื่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาให้ใช้คำว่า “โรงเรียน” หรือ “วิทยาลัย” เป็นคำขึ้นต้นแล้วแต่กรณีและต่อด้วยชื่อ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด ชื่อบุคคล ผู้ได้รับการจำรึกในประวัติศาสตร์หรือสถานที่อื่นใด
                ให้สถานศึกษาที่ได้ตั้งชื่ออยู่แล้วในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ใช้ชื่อเดิมต่อไป เว้นแต่จะมีการตั้งชื่อใหม่ตามระเบียบนี้

8.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่องการตั้งชื่ออาคาร ห้องหรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549
         ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบฯ ว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 กำหนดว่า “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้มีการตั้งชื่อที่เหมาะสมกับการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
               การตั้งชื่ออาคารของสถานศึกษา ซึ่งมีผู้บริจาคให้สร้างอาคารทั้งหลัง โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ในอาคารควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
               การตั้งชื่อห้องซึ่งผู้บริจาคทรัพย์สร้างโดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หารผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่ห้องควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
               การที่มีผู้จัดซื้อให้หรือบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้จัดซื้อหรือผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่ห้องควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
               เพื่อเป็นการยกย่องบุคคลผู้มีคุณภาพดีเกี่ยวกับสถานศึกษาหรือท้องถิ่น แม้ไม่ได้บริจาคทรัพย์ให้สร้างอาคาร หากสถานศึกษาเห็นสมควรและประชาชนสนับสนุนการจารึกชื่อผู้นั้นไว้ที่อาคารให้อยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการต้นสังกัด

9.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่องการแก้วัน เดือน ปีเกิดของนักเรียนและนักศึกษา
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ การขอแก้วัน เดือน ปีเกิดของนักเรียนและนักศึกษาให้ถือปฏิบัติดังนี้
              1. ในกรณีวัน เดือน ปีเกิดของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตกให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐานและการแก้ไขตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยลงนามผู้แก้และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
              2. ในกรณีวัน เดือน ปีเกิดของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดและมีผู้ร้องขอให้แก้ผู้ร้องจะต้องส่งคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้และเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสถานศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย วัน เดือน ปีเกิด ตามลำดับความสำคัญ
              3. เมื่อทางสถานศึกษาได้พิจารณาวินิจฉัยเอกสารตามข้อ 5 (2)(แล้วถ้าปรากฏชัดแจ้งว่า วัน เดือน  ปีเกิด ผิดพลาดไม่ตรงกับหลักฐานความเป็นจริง ให้ทำรายงานส่งคำร้องขอแก้วัน เดือน ปีเกิด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังกล่าวข้างต้นและสำเนาการสอบสวน (ถ้ามีไปตามระเบียบราชการเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบแก้ไขเป็นรายๆไป

10.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเรื่องการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ให้สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกาชระทรวงศึกษาธิการ
               ในกิจกรรมทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
               ให้สถานศึกษามีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา เว้นแต่การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้สถานศึกษา ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
               ในกรณีที่จะต้องมีการจดทะเบียนสิทธิ ขึ้นทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา ให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการทางทะเบียนดังกล่าวได้ในนามนิติบุคคลสถานศึกษา
               ในกรณีนิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องคดี ให้สถานศึกษารายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดีโดยเร็ว
               สถานศึกษาจะมีอิสระในการบริการจัดการงบประมาณในส่วนของที่ตั้งไว้สำหรับสถานศึกษาที่ได้รับกำหนดวงเงินและได้รับมอบอำนาจจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ทั้งนี้ ยกเว้นงบประมาณในหมวดเงินเดือน
               สถานศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัสดุในส่วนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศกำหนด
               การรับบริจาคเงินให้สถานศึกษารับบริจาคตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินและตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการศึกษาธิการขั้นพื้นฐานกำหนด
               การบริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินและบัญชีของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาธิการขั้นพื้นฐานกำหนด
               เมื่อมีประกาศยุบ รวม เลิก สถานศึกษา ให้สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาจัดให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชี รวมทั้งดำเนินการโอนหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ยังคงเหลืออยู่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

11.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา
พ.ศ.2548                   
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน .. 2548
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ให้ทำหนังสือขออนุญาตเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  15  วัน การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ครู  นักเรียน (/คนขึ้นไป) กิจกรรมการเรียนการสอน ในหรือนอกเวลาสอน(ไม่นับเดินทางไกล+อยู่ค่ายพักแรมฯ)การไปนอกสถานที่ตามคำสั่งในทางราชการการพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืน ผู้บริหารสถานศึกษาการพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน  ผอ.สพท./ผู้รับมอบหมาย/ผู้มีอำนาจเหนือสถานศึกษา 1 ชั้น การพาไปนอกราชอาณาจักร  หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้ได้รับมอบหมายการควบคุม   ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รับมอบหมาย  ครู 1 : นักเรียนไม่เกิน 30 คน ถ้ามีนักเรียนหญิงต้องมีครูหญิงส่งคำขออนุญาตพร้อมโครงการต่อผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนอนุญาตไปมาแล้วให้รายงานต่อผู้อนุญาตทราบถือว่าไปราชการ  เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

12.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
        ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน .. 2547
        ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ข้าราชการครูต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24 เดือนเต็ม แต่ ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจาเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอานาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษาปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ในกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัย ระดับโทษต้องไม่สูงกว่าโทษภาคทัณฑ์
            ข้าราชการที่ถูกลงโทษตัดเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้ว หรือถ้าเป็น ผู้ถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน
           ข้าราชการที่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ จะสมัครสอบหรือสอบคัดเลือกเพื่อไปศึกษา หรือฝึกอบรมอื่นใดมิได้ มีคุณสมบัติและพื้นความรู้ตามระเบียบที่สถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนดไว้ ข้าราชการที่เคยได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคปกติ หรือศึกษาต่อต่างประเทศแล้วจะศึกษาต่ออีก ต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามที่กำหนดในข้อ 1 กรณีที่มีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการซึ่งกลับมาปฏิบัติราชการไม่ครบตามกำหนดไปศึกษาต่ออีก จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอานาจอนุญาตเป็นรายๆไปจำนวนผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อ ต้องไม่เกิน 5% ของจานวนข้าราชการ ในสถานศึกษา หรือ หน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้ รวมทั้งข้าราชการที่กาลังศึกษาต่ออยู่ภายในประเทศและต่างประเทศด้วย เศษถึงครึ่งให้ปัดเป็น 1 คน (ไม่นับฝ่ายบริหาร) และข้าราชการที่เหลืออยู่จะต้องสอนไม่เกินคนละ 22 คาบต่อสัปดาห์ ในหมวดวิชานั้นๆ หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอานาจอนุญาต
           สถานศึกษาหรือหน่วยงานใด มีข้าราชการจานวนน้อย และคิดเป็นโควตาไม่ได้ แต่มีผู้สอบ คัดเลือกเพื่อศึกษาต่อได้ ให้ศึกษาต่อได้โรงเรียนหรือหน่วยงานละไม่เกิน 1 คน

13.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.. 2548
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
        เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ให้สถานศึกษาต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมสหกรณ์ขึ้นในสถานศึกษาโดยให้มีครูอาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสถานศึกษาเป็นสมาชิก ในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา
              ให้มุ่งถึงประโยชน์ทางการศึกษาเป็นประการสำคัญ เงินที่ใช้ในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่าเงินกิจกรรมสหกรณ์” ไม่ใช่เงินบำรุงการศึกษา และอยู่นอกการควบคุมของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. 2520 ให้จัดทำบัญชีตามวิธีการของสหกรณ์แต่ละประเภท โดยอยู่ในความควบคุมของสถานศึกษา สถานศึกษาใดเริ่มจัดกิจกรรมสหกรณ์เมื่อใดสำหรับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคให้รายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบสำหรับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางหรือขึ้นตรงกับส่วนกลางให้รายงานอธิบดีเจ้าสังกัดทราบ
             สถานศึกษาใดเลิกจัดกิจกรรมสหกรณ์เมื่อใด ให้รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีเจ้าสังกัด ตามความทราบ แล้วแต่กรณี ข้อบังคับของกิจกรรมสหกรณ์แต่ละประเภท ให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษากำหนด ให้สถานศึกษารายงานผลการดำเนินงาน สถานะการเงินและงบดุลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรืออธิบดีเจ้าสังกัดทราบทุกปี
             หลังการประชุมใหญ่ประจำปี กิจกรรมสหกรณ์ประเภทใดของสถานศึกษาใด ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนวันใช้ระเบียบนี้ ให้ถือว่าการดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ประเภทนั้นของสถานศึกษานั้นมีผลสมบูรณ์

14.หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2550
        ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 25 มกราคม พ.. 2550
        ผู้ลงนามในระเบียบ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
        เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ กำหนดหลักการเพิ่มเติมให้ผู้มีอำนาจจัดที่พักของส่วนราชการสามารถใช้ดุลพินิจจัดให้ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก  และเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเข้าพักในที่พักของทางราชการได้  โดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้น  กล่าวคือหากส่วนราชการใดจะใช้ดุลพินิจดังกล่าว จะต้องบริหารเงินงบประมาณที่ได้รับให้อยู่ภายในวงเงินที่ได้รับจัดสรรด้วย
             แก้ไขบทบัญญัติที่อ้างอิงให้ถูกต้องสอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547  รวมทั้งปรับปรุงถ้อยคำของหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติบางส่วนให้มีความชัดเจนและเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น บทบัญญัติที่อ้างฐานอำนาจให้ออกหลักเกณฑ์ฯ จากเดิมที่อ้างตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  เปลี่ยนเป็นพระราชกฤษฎีกาเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 เป็นต้น

15.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
        ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 6 สิงหาคม พ.. 2550
        ผู้ลงนามในระเบียบ นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
        เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้
               การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม
               การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
               สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
               สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ไม่น้อยกว่า 40 คน ต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีครูเพียงพอในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะรองรับการจัดการ ศึกษาตลอดหลักสูตร
              การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
             สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมอยู่ในระดับดี ต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอและอยู่ในสภาพใช้การได้ดี มีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไม่น้อยกว่า40 คนเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำ ในกรณีที่เป็นพื้นที่พิเศษให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอขยายชั้นเรียน มีแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า5ห้องเรียน ต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีครูเพียงพอทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และสถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร

16.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550     
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.. 2548
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจัดตั้งสถานศึกษาใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำแผนการจัดตั้งสถานศึกษา และนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยสถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นในชุมชนใดต้องมีจำนวนนักเรียน ดังต่อไปนี้
             ระดับประถมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมาเข้าเรียน ถ้ามีนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่ถึงยี่สิบห้าคน แต่มากกว่าสิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
             ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะมาเข้าเรียนชั้นละไม่น้อยกว่าแปดสิบคนถ้ามีนักเรียนไม่ถึงชั้นละแปดสิบคน แต่มากกว่าสี่สิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่นสถานที่ที่จะจัดตั้งสถานศึกษาต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานอนุญาตให้ใช้ ตามประเภทของที่ดินอย่างถูกต้อง จำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าไร่
             สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษาประเภทเดียวกัน ที่ตั้งอยู่เดิมไม่น้อยกว่าหกกิโลเมตร ตามเส้นทางคมนาคม
             ให้บุคคล นิติบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ยื่นคำร้องขอให้จัดตั้งสถานศึกษาต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
             การรวมสถานศึกษา ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณารวมสถานศึกษาตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปเพื่อให้สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลดีแก่ผู้เรียน ทั้งในด้านสิทธิโอกาส และคุณภาพการศึกษา โดยจัดเป็นชั้นหรือช่วงชั้น
             การเลิกสถานศึกษา ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเลิกสถานศึกษา เมื่อสถานศึกษานั้นมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                   (1) ไม่มีนักเรียนที่จะจัดการเรียนการสอน
                   (2) จำนวนนักเรียนลดลง จนไม่สามารถพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาได้
             แนวปฏิบัติในการเลิกสถานศึกษา
                    การจัดตั้งสถานศึกษา ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจัดตั้งสถานศึกษาใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำแผนการจัดตั้งสถานศึกษา และนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยสถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นในชุมชนใดต้องมีจำนวนนักเรียน ดังต่อไปนี้
                   ระดับประถมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนมาเข้าเรียน ถ้ามีนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่ถึงยี่สิบห้าคน แต่มากกว่าสิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
                   ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะมาเข้าเรียนชั้นละไม่น้อยกว่าแปดสิบคนถ้ามีนักเรียนไม่ถึงชั้นละแปดสิบคน แต่มากกว่าสี่สิบคน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่นสถานที่ที่จะจัดตั้งสถานศึกษาต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานอนุญาตให้ใช้ ตามประเภทของที่ดินอย่างถูกต้อง จำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าไร่
                  สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษาประเภทเดียวกัน ที่ตั้งอยู่เดิมไม่น้อยกว่าหกกิโลเมตร ตามเส้นทางคมนาคม
                  ให้บุคคล นิติบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ยื่นคำร้องขอให้จัดตั้งสถานศึกษาต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
              การรวมสถานศึกษา
ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณารวมสถานศึกษาตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปเพื่อให้สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลดีแก่ผู้เรียน ทั้งในด้านสิทธิโอกาส และคุณภาพการศึกษา โดยจัดเป็นชั้นหรือช่วงชั้น
             การเลิกสถานศึกษา ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเลิกสถานศึกษา เมื่อสถานศึกษานั้นมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                   (1) ไม่มีนักเรียนที่จะจัดการเรียนการสอน
                   (2) จำนวนนักเรียนลดลง จนไม่สามารถพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาได้
            แนวปฏิบัติในการเลิกสถานศึกษา ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน แล้วให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาให้สถานศึกษา แจ้งผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษาถัดไป ทรัพย์สินและชำระบัญชี รวมถึงการดำเนินการโอนหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ยังคงเหลืออยู่ของสถานศึกษา บรรดาเอกสารสำคัญของสถานศึกษาที่ถูกเลิกทุกประเภท ให้โอนไปอยู่ใน ความดูแล รับผิดชอบของสถานศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษากำหนด

 17.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.. 2548
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย  โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาดังต่อไปนี้
              1.สอบถามครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา นิสัยและสติปัญญาของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
              2.เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษานั้นกำลังศึกษาอยู่มารับตัวนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อว่ากล่าว อบรม สั่งสอน ต่อไป
              3.ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอนนักเรียนหรือนักศึกษา
              4.เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือนหรือทำทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาอีก
              5.สอดส่อง ดูแล รวมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล หรือแหล่งที่ชักจูงนักเรียนและนักศึกษาให้ประพฤติในทางมิชอบ
              6.ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น

18.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม .. 2551
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษากำหนดให้รายละเอียดเกี่ยวกับการแต่ง  วิธีการ  และเงื่อนไขในการแต่งเครื่องแบบนักเรียนดังนี้
                ชนิดและแบบของเครื่องแบบ รวมทั้งจัดทำรูปเครื่องแบบตามระเบียบนี้ไว้เป็นตัวอย่างเครื่องหมายของสถานศึกษา
                การกำหนดรายละเอียดตามวรรคหนึ่งให้สถานศึกษาขอความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง  หรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้น  แล้วแต่กรณีและประกาศให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนทราบ
                สถานศึกษาใดมีความประสงค์จะขอใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดในระเบียบนี้ให้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้นแล้วแต่กรณี
                สถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาด  นักศึกษาวิชาทหารหรือแต่งชุดพื้นเมือง  ชุดไทย  ชุดลำลอง  ชุดฝึกงาน  ชุดกีฬา  ชุดนาฏศิลป์  หรือชุดอื่น ๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด  ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความประหยัดและเหมาะสม
                ในกรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษให้สถานศึกษาพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียนได้ตามความเหมาะสม
                นักเรียนซึ่งศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แต่งกายสุภาพ
                นักเรียนผู้ใดไม่แต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่ได้รับยกเว้นตามระเบียบนี้ให้สถานศึกษาพิจารณาลงโทษทางวินัยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนตามความเหมาะสม
                สถานศึกษาใดที่ใช้เครื่องแบบนักเรียนอยู่แล้วตามระเบียบเดิม  หรือใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไป
                ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้  และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

19.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับหลักฐานในการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับเพื่อเป็นการเปิดโอกาสแก่บุคคลให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 5 กันยายน .. 2548
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์  ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ให้สถานศึกษาถือเป็นหน้าที่ ในการที่จะรับเด็กที่อยู่ในวัยการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ เข้าเรียนในสถานศึกษา กรณีเด็กย้ายที่อยู่ใหม่ สถานศึกษาต้องอำนวยความสะดวก และติดตามให้เด็กได้เข้าเรียน ในสถานศึกษาที่ใกล้กับที่อยู่ใหม่
               การรับนักเรียนนักศึกษาในกรณีที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อน ให้สถานศึกษาเรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับเพื่อนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา ดังต่อไปนี้
                     1.สูติบัตร
                     2.กรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 ให้เรียกหนังสือรับรองการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
                     3.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน หรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษณะเดียวกัน
ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1หรือ 2ให้เรียกหลักฐานที่ทางราชการออกให้ หรือเอกสารตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ได้
                     4.ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 2 และ 3ให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือองค์กรเอกชนทำบันทึกแจ้งประวัติบุคคล ตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
                     5.ในกรณีที่ไม่มีบุคคล หรือองค์กรเอกชนตามให้ซักถามประวัติบุคคลผู้มาสมัครเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำลงรายการบันทึกแจ้งประวัติบุคคลตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา

20.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.. 2549
         ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ปีการศึกษา
                ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียน 16 พฤษภาคม ปิด 11 ตุลาคม ในปีเดียวกัน
                ภาคเรียนที่ 2 เปิด 1 พฤศจิกายน ปิด 1 เมษายน ในปีถัดไปว่าด้วยการปิดเรียนกรณีพิเศษ คือ ปิดเพราะใช้สถานที่จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดอบรมสัมมนา เข้าค่าย พักแรม หรือกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือกรณีอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปิดเรียนตามปกติได้ ผู้อำนวยการโรงเรียน สั่งปิดได้ไม่เกิน 7 วัน โดยต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่สั่งด้วยวาจาก่อนในกรณีจำเป็นได้ แต่ต้องจัดทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เรียบร้อยภายใน 3 วัน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ฯสั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วันว่าด้วยการปิดเรียนเหตุพิเศษ คือเหตุจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ผอ.ร.ร.สั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน ผอ.สำนักงานเขตฯ สั่งปิดได้ไม่เกิน 30 วัน หากปิดครบแล้วเหตุการณ์ยังไม่สงบจะสั่งปิดต่อไปอีกได้โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระหว่างปิดนั้น ผอ.ร.ร.จะสั่งให้ครูมาปฏิบัติราชการด้วยก็ได้ ปิดแล้วต้องจัดวันเปิดสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันเปิดเรียนปกติที่ปิดไปด้วย

21.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ..2536 ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
        ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 21 มกราคม พ.. 2550
        ผู้ลงนามในระเบียบ นายปรีดิยาธร เทวกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
        เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้เวลาราชการ หมายความว่า เวลาระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 ของวันทำการ และให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาอื่นที่ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะหรือเป็นอย่างอื่นด้วย
             วันทำการ หมายความว่า วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และให้หมายความรวมถึงวันทำการ ที่ส่วนราชการกำหนดเป็นอย่างอื่นด้วย
             วันหยุดราชการ หมายความว่า วันเสาร์และวันอาทิตย์ หรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงวันหยุดราชการประจำปีหรือวันหยุดพิเศษอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการนอกเหนือจากวันหยุดราชการประจำปี
            การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ของข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการของข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่าแปดชั่วโมง โดยรวมเวลาหยุดพัก
            การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นต้องอยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในครั้งนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ของงานราชการเป็นสำคัญ และให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและวิธีการจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ
            กรณีที่มีราชการจำเป็นเร่งด่วนต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยยังไม่ได้รับอนุมัติตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการขออนุมัติจากผู้มีอำนาจโดยไม่ชักช้า และให้แจ้งเหตุแห่งความจำเป็นที่ไม่อาจขออนุมัติก่อนได้
            กรณีข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและการจัดการประชุมของทางราชการ พ.. 2524 ไม่มีสิทธิได้รับเงินตอบแทน เว้นแต่ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการก่อนการเดินทาง เมื่อการเดินทางไปราชการนั้นเสร็จสิ้นและกลับถึงที่ตั้งสำนักงานในวันใด หากจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันนั้น ให้เบิกเงินตอบแทนได้

22.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549  
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องสมุดหมายเหตุรายวัน  พ.ศ.2549  
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.. 2549
         ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ การลงทะเบียนนักเรียน ตามปกติต้องลงด้วยปากกาหมึกซึมสีดำ ห้ามการขูดลบเพิ่มเติม ถ้าเขียนผิดพลาดหรือตก จำเป็นต้องแก้ไข ก็ให้ขีดฆ่าด้วยปากกาหมึกซึมสีแดงโดยประณีต แล้วเขียนใหม่ด้วยปากกาหมึกซึมสีแดง การแก้ไขให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไข แล้วลงนาม วัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง กับให้ลงบันทึกแสดงเหตุผลที่แก้ไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันด้วยการลงทะเบียนนักเรียนลงแล้วให้เป็นแล้วไป จะคัดลอกขึ้นหน้าใหม่ไม่ได้นอกจากได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานเจ้าสังกัดที่สูงกว่าสถานศึกษาชั้นหนึ่ง สถานศึกษาเอกชนที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการกองทะเบียน ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคต้องได้รับอนุญาตจากศึกษาธิการอำเภอ
            กรณีการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ถ้าเป็นนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์บังคับเข้าเรียนตามกฎหมายว่าด้วยประถมศึกษา ให้หัวหน้าหน่วยงานเจ้าสังกัดที่สูงกว่าสถานศึกษาชั้นหนึ่งเป็นผู้พิจารณาอนุญาตสถานศึกษาเอกชนที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางให้ผู้อำนวยการกองทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคให้ศึกษาธิการอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาต ส่วนนักเรียนหรือนักศึกษาที่ไม่อยู่ในเกณฑ์บังคับเข้าเรียนตามกฎหมายว่าด้วยประถมศึกษา ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาแก้ไขได้ กับให้ลงบันทึกแสดงเหตุผลที่แก้ไขไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันด้วย
            ถ้าการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนหรือนักศึกษาเป็นกรณีที่จะต้องจัดทำทะเบียนเก็บไว้เป็นหลักฐานที่จังหวัด หรือที่กรมเจ้าสังกัด เช่น นักเรียนทุนต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อผู้มีอำนาจได้ สั่งให้แก้แล้วให้รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดหรือกรมเจ้าสังกัดทราบด้วย

23.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม พ.. 2538
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายสุขวิช  รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ขั้นตอนการดำเนินการศึกษาต่อภายในประเทศ  ภาคปกติ ประเภท ก
               1.  สพฐ. พิจารณาโควตาประเภท ก ที่ได้รับการจัดสรรจากสถาบันการศึกษาให้สพท. ตามความเหมาะสม
               2.  สพท. ประสานงานกับสถาบันการศึกษา  เพื่อขอโควตา ประเภท ก เพิ่ม และดำเนินการคัดเลือกตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ สพฐ. กำหนด
               3.  โรงเรียนประสานกับสถาบันการศึกษา เพื่อขอโควตาประเภท ก เพิ่ม และดำเนินการคัดเลือกตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติที่ สพฐ. กำหนด
              4.  สพท. แจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกไปยังสถาบันการศึกษาโดยตรงพร้อมทั้งแจ้งผู้ได้รับ        การคัดเลือกไปดำเนินการตามขั้นตอนของสถาบันการศึกษาและรายงานสพฐ. ทราบ
              5. ขั้นตอนการดำเนินการลาศึกษาของข้าราชการ
                       5.1 ข้าราชการขออนุญาตลาศึกษาต่อผู้มีอำนาจอนุญาต
                       5.2 จัดทำสัญญา และสัญญาค้ำประกันตามแบบที่กำหนด
              6. ขั้นตอนการดำเนินการของผู้มีอำนาจอนุญาต (ผู้บริหารสถานศึกษา/สพท./สพฐ.)
                       6.1 จัดทำคำสั่งให้ไปศึกษาต่อ
                       6.2 จัดทำหนังสือส่งตัวข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษา ไปยังสถาบันการศึกษา
              7. การรายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาต การรายงานจำนวนข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษา/ขยายเวลา/กลับเข้าปฏิบัติราชการเมื่อเสร็จสิ้นการลาศึกษาต่อโดยรายงานให้สพฐ. ทราบทุกภาคการศึกษา
              การลาศึกษาต่อ
                   1.ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท กำหนด 2 ปี
                   2.ระดับปริญญาเอก กำหนด 4 ปี
                       2.คุณวุฒิและสาขาวิชา/วิชาเอกที่ สำนักงาน ก.พ.และ ก.ค. หรือ ก.ค.ศ. กำหนด/และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ กรณีนอกเหนือจากที่ประกาศสพฐ.กำหนด  ให้เสนอสพฐ. พิจารณาเป็นรายๆไป ยื่นแบบขออนุญาตให้  ข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ภาคปกติ ประเภท ข (แบบที่ 2)แนบผลการสอบคัดเลือกจากสถาบันการศึกษา และสำเนา ก.พ. 7

24.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่2)พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อและฝึกอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่2) พ.ศ.2547
        ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.. 2547
        ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย  โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ คุณสมบัติผู้ลาศึกษาต่อ
              1.  ต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24เดือนเต็ม แต่ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจำเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป
              2.  มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่ 15 มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษากรณีอายุเกิน 45 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายทั้งนี้ต้องมีเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ทุนครบก่อนเกษียณอายุราชการ
              3.ปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ในกรณีที่ถูกลงโทษทางวินัย ระดับโทษต้องไม่สูงกว่าโทษภาคทัณฑ์   
              ข้าราชการที่ถูกลงโทษตัดเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้ว หรือถ้าเป็น   
ผู้ถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้ เมื่อถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน
              ข้าราชการที่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ  จะสมัครสอบหรือสอบคัดเลือกเพื่อไปศึกษา หรือฝึกอบรมอื่นใดมิได้
              4.มีคุณสมบัติและพื้นความรู้ตามระเบียบที่สถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนดไว้
              5.ข้าราชการที่เคยได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคปกติ หรือศึกษาต่อต่างประเทศแล้วจะศึกษาต่ออีก ต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามที่กำหนดในข้อ 1 กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการซึ่งกลับมาปฏิบัติราชการไม่ครบตามกำหนดไปศึกษาต่ออีก จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป จำนวนผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อ ต้องไม่เกิน 5ของจำนวนข้าราชการ              
              ในสถานศึกษา หรือ หน่วยงานนั้นๆ ทั้งนี้ รวมทั้งข้าราชการที่กำลังศึกษาต่ออยู่ภายในประเทศและต่างประเทศด้วย เศษถึงครึ่งให้ปัดเป็น 1 คน (ไม่นับฝ่ายบริหาร) และข้าราชการที่เหลืออยู่จะต้องสอนไม่เกินคนละ 22 คาบต่อสัปดาห์ ในหมวดวิชานั้นๆ หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต
              สถานศึกษาหรือหน่วยงานใด มีข้าราชการจำนวนน้อย และคิดเป็นโควตาไม่ได้ แต่มีผู้สอบคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อได้ ให้ศึกษาต่อได้โรงเรียนหรือหน่วยงานละไม่เกิน 1 คน

25.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.. 2547
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย  โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ การออกหนังสือรับรองความรู้  สถานศึกษาจะออกได้เฉพาะในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถออกใบสุทธิให้หรือสำเนาต้นขั้วใบสุทธิให้ได้เท่านั้น  ซึ่งอาจมีเหตุจากต้นขั้วใบสุทธิสูญหายหรือไม่ปรากฏหลักฐานการออกใบสุทธิ  หรือไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใด  เมื่อสถานศึกษาใด  พบกรณีดังได้กล่าวมานี้ต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา  พ.ศ.2547 ข้อ  6  มีขั้นตอนการปฏิบัติให้สถานศึกษาไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานก่อน  กล่าวคือสอบสวนให้ได้ความจริงว่า  “บุคคลผู้มาขอหนังสือรับรองความรู้จบการศึกษาในสถานศึกษานั้นจริงหรือไม่”  อาจสอบสวนหาพยานหลักฐานเอกสารก่อน  หากไม่ปรากฏร่อยรอยจากพยานเอกสารเลยก็จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานจากพยานบุคคล สถานศึกษาต้องไต่สวนจนกระทั่งได้หลักฐานเพียงพอว่าบุคคลนั้นจบการศึกษาจริง  แล้วรายงานผลการไต่สวน ให้หน่วยงานต้นสังกัดเหนืออีกชั้นหนึ่งพิจารณาว่าเห็นควรให้ออกหนังสือรับรองความรู้   ให้หรือไม่  หากเห็นว่าหลักฐานเชื่อถือได้  ก็จะอนุญาตให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองความรู้ให้  สถานศึกษา ไม่มีอำนาจพิจารณาเอง 

26.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ  พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องสถาบันศึกษาปอเนาะ  พ.ศ.2547
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 เมษายน พ.. 2547
          ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย  โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัด ทำหน้าที่จดทะเบียนสถาบันปอเนาะและมีหน้าที่ส่งเสริม กำกับ และสนับสนุนสถานศึกษาปอเนาะที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้นายทะเบียนออกหลักฐานการจดทะเบียนสถาบันสถานศึกษาปอเนาะ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับร้องขอ พร้อมเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง ตามแบบ ป.น. 2 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม

27.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ (ฉบับที่2) พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องสถาบันศึกษาปอเนาะ ด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.. 2547 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 กันยายน พ.. 2548
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์  ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ให้ยกเลิกคำนิยามคำว่า “โต๊ะครู” และ “ผู้ช่วยโต๊ะครู” ในข้อ 3 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               โต๊ะครู” หมายความว่า ผู้สอนที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนและเป็นเจ้าของปอเนาะ
               “ผู้ช่วยโต๊ะครู” หมายความว่า ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีซึ่งโต๊ะครูให้ช่วยสอนในปอเนาะ
               กรณีที่ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.. 2545 โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ หรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาอื่นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม

28.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วย การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการ ดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.. 2546
         ผู้ลงนามในระเบียบ นายไพฑูรย์ จัยสิน อธิบดีกรมสามัญศึกษา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ การมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน ให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ  การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมอื่นๆ ของผู้รับมอบอำนาจเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการในระยะเริ่มแรกที่มีการกำหนดตำแหน่งอัตรา หรือแต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ ผู้อำนวยการมอบหมาย หรือมอบอำนาจตามระเบียบนี้

29.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์  การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์  การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม พ.. 2551
         ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจในการสั่งการ การอนุญาต และการอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ให้มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีหรือแนวทางที่ใช้เป็นกรอบที่ชัดเจนในการกำกับดูแล การฏิบัติราชการตามโครงการและแผนงานของผู้รับผิดชอบ
               การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามการมอบอำนาจ ตามงาน โครงการที่กำหนดไว้ในลักษณะภาพรวมเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมอบอำนาจต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อยปีละครั้ง

30.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549 โดยที่ให้เป็นสมควรตามระเบียบการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา         
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.. 2549
          ผู้ลงนามในระเบียบ นางพรนิภา  ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ สถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่ราชการกำหนดให้แก่ให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ ให้ใช้หลักฐานการรับเงินตามแบบที่ทางราชการกำหนดและต้องควบคุมใบเสร็จและหลักฐานการเก็บเงินไว้เพื่อตรวจสอบได้ และให้สถานศึกษาเก็บเงินสดไว้เพื่อสำรองจ่ายในวงเงินที่ทางคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
              ห้ามมิให้นำเงินรายได้สถานศึกษาไปเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาแห่งอื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
              อำนาจการอนุมัติการจ่ายเงินและการก่อหนี้เงินผูกพันรายได้สถานศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนด

31.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล  ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา โดยเห็นเป็นการสมควรในการกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้เป็นไปในทางเดียวกัน 
         ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม .. 2551
         ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
         เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือมีการจัดซื้อจากรายได้ของสถานศึกษา ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามสถานศึกษา เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และเก็บรักษาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินไว้ในที่ปลอดภัยไม่ให้สูญหาย
               ให้สถานศึกษาจัดทำทะเบียนรับและจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาไว้เป็นหลักฐาน
               การรื้อและจำหน่ายอาคาร สิ่งปลูกสร้าง อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
               การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้ที่ราชพัสดุให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่ราชพัสดุที่เกี่ยวข้อง