ตอบคำถามกิจกรรมที่
4
ตอบคำถามต่อไปนี้
(1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. 2545
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ
โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา
หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี
โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
เว้นแต่จะสอบเข้าได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. 2545 อย่างไร
ก. ผู้ปกครอง
ข.เด็ก ค.การศึกษาภาคบังคับ ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ ความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ก.
ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา
หรือ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
ข.เด็ก หมายความว่า
เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค.การศึกษาภาคบังคับ
หมายความว่า
การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง.
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร
และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษา
สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมกราการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
มีทั้งหมด 21 ข้อ
ตอบ สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
1. นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่ประพฤติตน
ดังต่อไปนี้
1. หนีเรียนหรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน
2. เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน
3. พกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิด
4. ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด
5. ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจเพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น
6. ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใด ๆ
อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
7. แสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ
8. เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี
9.
ออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืน เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่ม อันเป็นการสร้างความ
เดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
2. ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษากำหนดระเบียบว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้
3. กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
4. การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ
ให้คำนึงถึงคุณวุฒิ ประสบการณ์ มาตรฐานวิชาชีพ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ
และคุณภาพของงาน แล้วแต่กรณี
5. ให้มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน
และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และเสนอแนะในการออกระเบียบ หลักเกณฑ์
และประกาศที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสานักงาน
6. กระทรวงศึกษาธิการมีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่
ดังนี้
1. รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนปฏิบัติราชการ
กำกับการทางานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์
และประสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน
รวมทั้งเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามแผนงานของกระทรวง
2. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสานักงานปลัดกระทรวงรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสานักงานปลัดกระทรวง
7. ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ
ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เป็นองค์กรส่งเสริมและให้คาปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาหรับบุคคล
ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร
และการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส
และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎกระทรวง
หรือประกาศกระทรวงว่าด้วยการนั้น
8. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จานวนสถานศึกษา จานวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
9. ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ.2549
10. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่า
11. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้
อัตรากาลัง ข้าราชการ ลูกจ้าง และเงินงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
สานักงานศึกษาธิการจังหวัด และสานักงานศึกษาธิการอำเภอ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
12. บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ
ประกาศ และคำสั่งเกี่ยวกับการศึกษาที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป
จนกว่าจะได้มีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
13. ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีกรรมการจำนวนไม่เกินยี่สิบเจ็ดคนประกอบด้วย
1. ประธานกรรมการ
2. กรรมการโดยตำแหน่งจำนวนเก้าคน
3. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชนจำนวนหนึ่งคน
4. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนหนึ่งคน
5. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพจำนวนหนึ่งคน
6. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบสามคน
7. เลขาธิการคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน
14. หลักเกณฑ์วิธีการสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการ
นอกจากที่กำหนดไว้ในกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามประกาศของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
15. กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา
พ.ศ.2548
16. กำหนดจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
พ..ศ.2548
17. กำหนดจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ
พ.ศ.2550
18. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ.2545
19. กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดระบบงานและกิจกรรมในการ
แนะแนว
ให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครอง พ.ศ.2548
20. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก
สื่อ บริการ
และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ.2550
21. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทน
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน กคศ.(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น