วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ตอบคำถามจากกิจกรรมที่ 5
ให้นักศึกษาศึกษารายะเอียดพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา แล้วตอบคำถามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                1. ให้นักศึกษาตอบคำถามดังนี้
1. พรบ. สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้และบังคับเมื่อใด
ตอบ พรบ. สภาครูฯ 2546 ประกาศใช้ 11 มิถุนายน 2546 บังคับใช้ 12 มิถุนายน 2546

2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ใครบ้าง
ตอบ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูออกให้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น

3. คุรุสภามีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง
ตอบ คุรุสภามีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ที่สำคัญ คือ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอน.ใบอนุญาต / กำหนดนโยบาย / ประสานส่งเสริมการศึกษาวิจัย

4. อำนาจหน้าที่คุรุสภา มีอะไรบ้าง
ตอบ อำนาจหน้าที่คุรุสภามี 15 ข้อ คือ ออก พัก เพิกถอนใบอนุญาต / รับรองปริญญา วุฒิบัตร ความรู้ประสบการณ์ / ออกข้อบังคับคุรุสภา / ให้คำปรึกษา เสนอแนะ ครม.เกี่ยวกับนโยบายหรือการพัฒนาวิชาชีพ
5. คุรุสภาอาจมีรายได้มาจากแหล่งใด
ตอบ  คุรุสภาอาจมีรายได้มาจาก 5 รายการ คือ ค่าธรรมเนียม / เงินอุดหนุน / ผลประโยชน์จากทรัพย์สิน / มีผู้อุทิศให้ / ดอกผลตามข้อ 1-4

6. คณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน ใครเป็นประธาน
ตอบ คณะกรรมการคุรุสภามี 39 คน ประธานมาจาก ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ กฎหมาย

7. กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้อง ประกอบด้วย
ตอบ กรรมการคุรุสภาที่มาจากผู้แทนตำแหน่งครูต้องมีใบอนุญาตและไม่เคยถูกพักใช้ / ปฏิบัติการสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี / ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 ไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการ

8. คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ อะไร ได้แก่
ตอบ คณะกรรมการคุรุสภามีหน้าที่ 6 ข้อ สำคัญ คือ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

9. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีกี่คน ประธานคือใคร หน้าที่สำคัญ
ตอบ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมี 17 คน ประธาน คือ รมต.แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา พิจารณาการออกใบอนุญาต พักใช้หรือเพิกถอน

10. ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่เกิน
ตอบ ผู้เป็นเลขาธิการคุรุสภา จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ ไม่เกิน 65 ปี

11. ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วยใคร ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประกอบด้วย วิทยากร ผู้สอนตามอัธยาศัย ครูฝึกสอน ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ครูผู้บริหารระดับปริญญาทั้งรัฐและเอกชน

12. คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอะไรบ้าง
ตอบ คุณสมบัติผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู คือมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ / มีวุฒิทางการศึกษา / ผ่านการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านตามคุรุสภากำหนด

13. หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องจัดกระทำอย่างไร
ตอบ หากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่ออก ไม่ต่อ ใบอนุญาต ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน

14. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานอะไร
ตอบ มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์ / มาตรฐานการปฏิบัติงาน / มาตรฐานการปฏิบัติตน

15. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วยอะไร
ตอบ มาตรฐานการปฏิบัติตน ประกอบด้วย จรรยาบรรณต่อตนเอง, ต่ออาชีพ, ต่อผู้รับบริการ , ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ,ต่อสังคม

16. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่
ตอบ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย มีหน้าที่ ยก/ตัก/ภาค/พัก/เพิก คือ ยกข้อกล่าวหา / ตักเตือน / ภาคทัณฑ์ / พักใช้ใบอนุญาต ไม่เกิน 5 ปี / เพิกถอนใบอนุญาต

17. สมาชิกคุรุสภามี กี่ประเภทประกอบด้วย
ตอบ สมาชิกของคุรุสภามี 2 ประเภท คือ สามัญและกิตติมศักดิ์(เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์ )

18. สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุดอย่างไร
ตอบ สมาชิกภาพของสมาชิกคุรุสภาสิ้นสุด 5 วิธี คือ ตาย/ลาออก/คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้น/ถอดถอนกิตติมศักดิ์/ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

19. สกสค.ย่อมาจาก อะไร
ตอบ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

20. สกสค.มีกี่คน ใครเป็นประธาน
ตอบ สกสค. มี 23 คน รมต.ศธ. นิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

21. ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการอย่างไร
ตอบ ผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

22. ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษเป็นอย่างไร
ตอบ ผู้ใดถูกพักใช้หรือแสดงตนว่ามีใบอนุญาตโดยเป็นเท็จมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

23. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ ใคร
ตอบ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.สภาครูฯ2546 คือ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

24. อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นอย่างไร
ตอบ อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
                1. ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๖๐๐ บาท
                2. ค่าต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครั้งละ ๒๐๐ บาท
                3. ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๓๐๐ บาท
                4. ค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๔๐๐ บาท
                5. ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๒๐๐ บาท

                2.ให้นักศึกษาศึกษามาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
                มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
1.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพอย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่าเป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น และมีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบวิชาชีพต่างกับอาชีพ (Career)  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จ โดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น

2.วิชาชีพควบคุมท่านเข้าใจอย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับ
วิชาชีพชั้นสูงอื่น  เช่น  แพทย์  วิศวกร  สถาปนิก  ทนายความ  พยาบาล  สัตวแพทย์  ฯลฯ 
ซึ่งจะต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพนั้นๆ  แล้ว    ยังมี
บทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ  กล่าวคือ 1.  สร้างพลเมืองดีของประเทศ  2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์  3.  สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ

3.การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัดอย่างไร
ตอบ การประกอบวิชาชีพควบคุมมีข้อจำกัด ดังนี้ คือ
                1.  ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาตหรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
                2. ต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับ คุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
                3. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีสิทธิ กล่าวหา    หรือกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพและบุคคลอื่น มีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
                4. เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัย ชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้และผู้ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้

4.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงอะไร พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพกี่ด้านประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาหมายถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ทักษะและความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ ส่วนพรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ  3 ด้าน ประกอบด้วย
                1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
                3.  มาตรฐานการปฏิบัติตน

5.ท่านเข้าใจมาตรฐานความรู้และประสบการณ์อย่างไร สรุปและอธิบาย
ตอบ ดิฉันคิดว่ามาตรฐานความรู้และประสบการณ์เป็น ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะ
เข้ามาประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบ
วิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็น
บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้ 

6.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่ามาตรฐานการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของครูผู้สอนแตกต่างกันคือมาตรฐานการปฏิบัติงานข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงานหรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้  ความสามารถ  และความชำนาญ เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่    นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี ส่วนมาตรฐานการปฏิบัติตนหมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ  โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ  และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัย ชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
                1. ยกข้อกล่าวหา
                2. ตักเตือน
                3. ภาคทัณฑ์ 
                4. พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 5  ปี
                5. เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ตอบคำถามกิจกรรมที่ 4
ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ หตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบเข้าได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
   ก. ผู้ปกครอง  ข.เด็ก  ค.การศึกษาภาคบังคับ  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ ความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ก. ผู้ปกครอง  หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือ ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
ข.เด็ก   หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค.การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
  
3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษา สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมกราการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21 ข้อ
ตอบ สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
1. นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่ประพฤติตน ดังต่อไปนี้
                1. หนีเรียนหรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน
                2. เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน
                3. พกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิด
                4. ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด
                5. ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจเพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น
                6. ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใด ๆ อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
                7. แสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ
                8. เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี
                9. ออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืน เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่ม อันเป็นการสร้างความ
เดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
2. ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษากำหนดระเบียบว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้
3. กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
4. การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ให้คำนึงถึงคุณวุฒิ ประสบการณ์ มาตรฐานวิชาชีพ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงาน แล้วแต่กรณี
5. ให้มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเสนอแนะในการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ และประกาศที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสานักงาน
6. กระทรวงศึกษาธิการมีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                1. รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนปฏิบัติราชการ กำกับการทางานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามแผนงานของกระทรวง
                2. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสานักงานปลัดกระทรวงรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสานักงานปลัดกระทรวง
7. ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เป็นองค์กรส่งเสริมและให้คาปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาหรับบุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงว่าด้วยการนั้น
8. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวนสถานศึกษา จานวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
9. ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ.2549
10. ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับเงินเดือนสูงกว่า
11. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ อัตรากาลัง ข้าราชการ ลูกจ้าง และเงินงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ สานักงานศึกษาธิการจังหวัด และสานักงานศึกษาธิการอำเภอ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
12. บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งเกี่ยวกับการศึกษาที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป จนกว่าจะได้มีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
13. ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีกรรมการจำนวนไม่เกินยี่สิบเจ็ดคนประกอบด้วย
                1. ประธานกรรมการ
                2. กรรมการโดยตำแหน่งจำนวนเก้าคน
                3. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชนจำนวนหนึ่งคน
                4. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนหนึ่งคน
                5. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพจำนวนหนึ่งคน
                6. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบสามคน
                7. เลขาธิการคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน
14. หลักเกณฑ์วิธีการสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการ นอกจากที่กำหนดไว้ในกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามประกาศของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
15. กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
16. กำหนดจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา พ..ศ.2548
17. กำหนดจำนวนหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ พ.ศ.2550
18. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
19. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดระบบงานและกิจกรรมในการ
   แนะแนว ให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครอง พ.ศ.2548
20. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ
   และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ.2550
21. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทน
   ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน กคศ.(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2553




วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ตอบคำถามจากกิจกรรมที่ 3
5.หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม
1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
ตอบ รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด ถือเป็นกฎหมายแม่บท ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ กฎหมายอื่นๆจะขัดแย้ง กับรัฐธรรมนูญไม่ได้   
ส่วนพระราชบัญญัติน่าจะเป็นกฎหมายลูกบท เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยใช้กระบวนการทางรัฐสภา พระราชบัญญัติเกือบทุกฉบับ ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายแต่ละฉบับ และได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานดังกล่าว ให้มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเจต นารมย์ของพระราชบัญญัติฉบับนั้นๆ ดังนั้นคำสั่งที่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย หากได้สั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินั้นแล้ว คำสั่งนั้นจึงถือเป็นกฎหมายครับ

2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หลักในการจัดการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษามีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางศึกษาอย่างต่อเนื่อง ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
และมีดา มารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา 17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว

6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มี 3 ระบบ คือ
1.) การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
2.) การศึกษานอกระบบเป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3.) การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคลประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ

7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ 1.) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
         2.) ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
          3.) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
          4.) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
         5.) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
         6.) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3
มาตรา ๓๗ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา                                                           
                ซึ่งเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ ดิฉันเห็นด้วยกับการที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล เพราะมีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา  ทั้งด้านวิชาการ  งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่โดยตรง  การกระจายอำนาจดังกล่าว จะทำให้สถานศึกษาคล่องตัว มีอิสระในการบริหารจัดการ  ตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based  management: SBM)  ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ ดิฉันเห็นด้วยกับการที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม เพราะสามารถจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการ จะเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1) สถานศึกษาจะต้องจัดทำโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามระบบกระกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
         2) สถานศึกษาจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
                2.1 กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                2.2 กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                2.3 เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
3) สถานศึกษาจะต้องจัดระบบสารสนเทศที่ข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
4) สถานศึกษาจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5) สถานศึกษาจะต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงหลักการและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้
                5.1 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความจำเป็นอย่างเป็นระบบและมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ
                5.2 กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
                5.3 กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชาหรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างถึงให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้ าหมายที่กำหนดไว้
                5.4 กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
                5.5 กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผูเรียน รับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ
                5.6 กำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคลากรในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
                5.7 กำหนดการจัดงบประมาณและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
6) สถานศึกษาจะต้องดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุเป้ าหมายที่กำหนดไว้
7) ให้คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดำเนินการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สำหรับในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม (การสังเกตพฤติกรรม และกระบวนการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนการสอน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การพิจารณาหลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน ตัวอย่างผลงาน และแฟ้มสะสมงาน แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบวัดมาตรฐาน) การตรวจสอบและทบทวนคูณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8) สถานศึกษาจะต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
9) สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้ าหมายที่กำหนดในแบบพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ (8) เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
10) หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมดำเนินงานตามระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดังนี้
                10.1 จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
                10.2 จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปี/รายภาค
                10.3 จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
11) หน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ ทั้งนี้การตรวจสอบและทบทวนให้เป็นไปตามข้อ(7) โดยอนุโลม
12) หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้วย

12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ ดิฉันเห็นด้วยกับการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะตามกำหนดพระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ฯลฯ
ส่วนที่ 5 การประกอบวิชาชีพควบคุม
มาตรา 43 ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษา เป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้าน การเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุม ของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ แนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นคือ
1. ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยอาจจัดเก็บภาษาเพื่อการศึกษาได้ตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
2. ให้บุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชนองค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันทางสังคมอื่น  ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาบริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น

14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ แนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาคือนำแท็บเล็ตพีซีใช้เรียน แทนหนังสือเรียนเป็นเพียงเครื่องมือให้กับนักเรียนเพื่อการศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน ซึ่งแท็บเล็ตพีซีนี้สามารถทำอะไรได้อย่างมากมาย  ขึ้นอยู่กับครู  ผู้บริหารและผู้ปกครองจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งความรู้ต่าง ๆ เป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนทุกระดับ จึงนับได้ว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ในการกระตุ้นให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเด็กเล็กกับพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว   ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่าง ๆ ในโลกกว้างและยังสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กในชนบท สร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพ    ทางการศึกษาโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถใช้ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการการเรียนรู้รายบุคคล  นอกจากนั้น เหตุผลที่ให้เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้แท็บเล็ตพีซีก่อนเพราะเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้ได้เร็วตามพัฒนาการทางสมองที่เหมาะสม  จะทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข และสามารถสร้างสิ่งที่ดีให้กับตนเองและสังคมได้ในอนาคต