วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Activities 1 find the definitions about Thai education laws

ตอบคำถามจากกิจกรรมที่ 1
1. กฎกระทรวง (อังกฤษ: ministerial regulation) เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ หรือแห่งกฎหมายที่มีฐานะเสมอกัน เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด กฎกระทรวงนั้นเดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี                             
2. กฎหมาย  เป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ในสังคม  ซึ่งมีกระบวรการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะ 
3. สิทธิ หมายถึงสิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฎหมาย เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งสิ่งนั้น โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ เช่น สิทธิในการกิน การนอน แต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับ โดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อตนถูกกระทำละเมิดกฎหมาย เป็นต้น
4. เสรีภาพ หมายถึงการใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตจนเกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ก็ย่อมถูกดำเนินคดีต่อกฎหมาย
5. หน้าที่ หมายถึง การกระทำหรือการละเว้นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยตรงของการมีสิทธิหน้าที่เป็นสิ่งที่บังคับให้มนุษย์ในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎหมาย บัญญัติไว้จะไม่ปฏิบัติตามไม่ได้ ส่วนสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์มีอยู่แต่จะใช้หรือไม่ก็ได้
6.ความเสมอภาคทางกฎหมาย หมายถึง สิทธิที่เท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน มีความหมายรวมถึงกระบวนการทางกฎหมายที่มีผลต่อประชาชนโดยรวมตั้งแต่การออกกฎหมายที่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน การบังคับใช้กฎหมายและการพิจารณาคดีต้องเป็นไปอย่างเสมอภาคเท่าเทียมต่อประชาชนทุกคน การได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการคุ้มครองทางกฎหมายเพื่อการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันด้วย 
7. บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แบ่งเป็น
    7.1.บุคคลธรรมดา หมายถึง คนซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
    7.2.นิติบุคคล หมายถึง กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
8. นิติกรรม  หมายความว่าการใดๆอันกระทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายแ ละด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิจากบทหลักกฎหมายดังกล่าว
9. มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
10. ศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง องค์กรสูงสุดที่มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดว่า บทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือการกระทำใดๆ ทั้งของรัฐและของบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่รวมทั้ง อำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ร่างรัฐพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมสภา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นทั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และเป็นทั้งศาลที่จะต้องพิจารณาพิพากษาคดีหรือดำเนินการต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

อ้างอิง
                ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
                 กำธร พันธุ์ลาภ. (2526). "กฎกระทรวง". สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน,
(เล่ม 1 : ก-กลากเหล็ก). (พิมพ์ครั้งที่สาม). กรุงเทฯ : ไพศาลศิลป์การพิมพ์. หน้า 27-38.
                ราชบัณฑิตยสถาน. (2551, 3 กุมภาพันธ์). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.
 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2551).
                (ดร.ปรีดี  เกษมทรัพย์)
                (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 4)
                คณิน บุญสุวรรณ ,ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบรูณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น