วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ตอบคำถามจากกิจกรรมที่ 2
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ หมวด 4หน้าที่ของชนชาวไทย
         - มาตรา 70 บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการ ให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชน
          หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
         - มาตรา 75    รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของ กระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัด ระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
         หมวด 10การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
      ส่วนที่ 2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
          - มาตรา 300   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำการตามวรรคหนึ่งเป็น ข้อ ๆ ให้ชัดเจน และให้ยื่นต่อประธานวุฒิสภาเมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องแล้วให้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ถูกกล่าวหา จะปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นมิได้จนกว่าจะมี คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ยกคำร้องดังกล่าว

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
            มาตรา 30    บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื่อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
            มาตรา 43    บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
             มาตรา 81    รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุน ให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ - จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ไม่เกินหนึ่งคน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งมีจำนวนเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้ง มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน จังหวัดใดมีการแบ่งเขตเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งเขต ต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องให้ จำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน
        - บุคคลซึ่งเป็นพยานในคดีอาญามีสิทธิ ได้รับความคุ้มครองการปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
        - อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนด คราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
        - อายุของวุฒิสภามีกำหนด คราวละหกปีนับแต่วันเลือกตั้ง
        - บุคคลจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ สมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้
        - สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐ ที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดเนื่องจากการกระทำ หรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
        - พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการ ถอดถอนฐานันดรศักดิ์และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
        - ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและ มิใช่ข้าราชการการเมือง จะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น มิได้
        -  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
    (1) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
          (ก) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนือ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
          (ข) การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
          (ค) กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
     (2) จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา
- ภายใต้บังคับมาตรา 163 การเรียกประชุม การขยาย เวลาประชุม และการปิดประชุมรัฐสภา ให้ กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ เพราะรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ  เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจเพื่อสิทธิและประโยชน์ที่เราพึงได้รับ    เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามกฏระเบียบที่ใช้ร่วมกัน และปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้อย่างถูกต้อง  

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ ดิฉันคิดว่าไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการแก้รัฐธรรมนูญต้องแก้ที่คนกับนโยบายว่าอย่ากระทำผิด ไม่ใช่แก้ที่กติกาหรือกฎหมาย สำหรับประชาชนบางกลุ่มที่คัดค้านนั้นก็เพราะอ้างเพื่อพวกพ้องหรือประโยชน์ประเทศแต่ที่จริงแล้วประโยชน์นั้นได้แก่คนกลุ่มเดียวเท่านั้น

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ การปกครองประเทศมีภาวะดำรงอยู่ได้นั้นจะขาดทั้ง 3 อำนาจนี้ไม่ได้เลยก็คือ  
1. ฝ่ายนิติบัญญัติ  2. ฝ่ายบริหาร  3. ฝ่ายตุลาการ ซึ่งจะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกันไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพราะการปกครองจะต้องคำนึงถึงส่วนรวมมากกว่าตนเองและพร้อมที่จะยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นแล้วรวบยอดตัดสินใจอีกครั้ง เรื่องของการแบ่งพรรค แบ่งฝ่ายไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าการปกครองนั้นมีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรภาพต่อการบริหารบ้านเมืองโดยให้มีความสงบและเจริญรุ่งเรืองขึ้นได้

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Activities 1 find the definitions about Thai education laws

ตอบคำถามจากกิจกรรมที่ 1
1. กฎกระทรวง (อังกฤษ: ministerial regulation) เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ หรือแห่งกฎหมายที่มีฐานะเสมอกัน เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด กฎกระทรวงนั้นเดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี                             
2. กฎหมาย  เป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ในสังคม  ซึ่งมีกระบวรการบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะ 
3. สิทธิ หมายถึงสิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฎหมาย เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งสิ่งนั้น โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ เช่น สิทธิในการกิน การนอน แต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับ โดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อตนถูกกระทำละเมิดกฎหมาย เป็นต้น
4. เสรีภาพ หมายถึงการใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตจนเกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ก็ย่อมถูกดำเนินคดีต่อกฎหมาย
5. หน้าที่ หมายถึง การกระทำหรือการละเว้นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยตรงของการมีสิทธิหน้าที่เป็นสิ่งที่บังคับให้มนุษย์ในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎหมาย บัญญัติไว้จะไม่ปฏิบัติตามไม่ได้ ส่วนสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์มีอยู่แต่จะใช้หรือไม่ก็ได้
6.ความเสมอภาคทางกฎหมาย หมายถึง สิทธิที่เท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน มีความหมายรวมถึงกระบวนการทางกฎหมายที่มีผลต่อประชาชนโดยรวมตั้งแต่การออกกฎหมายที่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน การบังคับใช้กฎหมายและการพิจารณาคดีต้องเป็นไปอย่างเสมอภาคเท่าเทียมต่อประชาชนทุกคน การได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการคุ้มครองทางกฎหมายเพื่อการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันด้วย 
7. บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แบ่งเป็น
    7.1.บุคคลธรรมดา หมายถึง คนซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
    7.2.นิติบุคคล หมายถึง กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
8. นิติกรรม  หมายความว่าการใดๆอันกระทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายแ ละด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิจากบทหลักกฎหมายดังกล่าว
9. มาตรฐานการศึกษา คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
10. ศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง องค์กรสูงสุดที่มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดว่า บทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือการกระทำใดๆ ทั้งของรัฐและของบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่รวมทั้ง อำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ร่างรัฐพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมสภา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นทั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และเป็นทั้งศาลที่จะต้องพิจารณาพิพากษาคดีหรือดำเนินการต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

อ้างอิง
                ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
                 กำธร พันธุ์ลาภ. (2526). "กฎกระทรวง". สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน,
(เล่ม 1 : ก-กลากเหล็ก). (พิมพ์ครั้งที่สาม). กรุงเทฯ : ไพศาลศิลป์การพิมพ์. หน้า 27-38.
                ราชบัณฑิตยสถาน. (2551, 3 กุมภาพันธ์). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.
 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2551).
                (ดร.ปรีดี  เกษมทรัพย์)
                (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 4)
                คณิน บุญสุวรรณ ,ปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบรูณ์

Introduce Myself


                                           

                                                 Hello!

                                             ชื่อ-นามสกุล         :   นางสาวนิเคาละห์ ศรีริกานนท์ 
                                             ชื่อเล่น                   :   Lah 
                                                                      อยู่ที่นราธิวาส
               
                                 ประวัติการศึกษา   
                                        จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา                                                                                           
                                              จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 โรงเรียนแสงธรรมวิทยา                                                                                  
                                              จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6 โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน                                              
   ปัจจุบันกำลังศึกษา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช คณะครุศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ปีที่ 4  
                                                                 
                                                                     ..คติประจำใจ..